ในปัจจุบันนวัตกรรมด้านการผลิตสินค้าได้เข้ามามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นอย่างมาก เพราะเดิมทีเมื่อนึกถึงการสร้างอาคารสร้างบ้านทุกคนมักจะนึกถึงวัตถุดิบก่อสร้างที่มากมายไม่ว่าจะเป็น หิน, อิฐ, ทราย, ปูนซีเมนต์ และโครงเหล็ก ซึ่งทั้ง 5 อย่างที่ว่ามานี้คือองค์ประกอบหลักสำคัญของบ้านหรืออาคาร 1 หลัง แต่สำหรับยุคการขึ้นโครงสร้างได้ก้าวข้ามไปอีกขึ้นด้วยวัสดุคอนกรีตสำเร็จรูป “Precast” ที่มีคุณสมบัติเรื่องความแข็งแรงพอ ๆ กับกำแพงก่ออิฐฉาบปูนแต่ช่วยทำให้งานเสร็จได้ไวมากขึ้น
คอนเทนต์นี้ Jira Logistics จะมาอธิบายกันให้ฟังว่าวัสดุคอนกรีตสำเร็จรูป “Precast” จริง ๆ แล้วคืออะไร? ผลิตอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียในการใช้งานอย่างไรบ้างติดตามกันได้เลย
คอนกรีตสำเร็จรูป Precast คืออะไร?
คอนกรีตสำเร็จรูป Precast คือ แผ่นคอนกรีตที่มีผลิตขึ้นขึ้นรูปเป็นชิ้น ๆ ตั้งแต่ในโรงงาน ที่มีความคล้ายกับการต่อจิ๊กซอว์ เพื่อนำไปประกอบที่หน้างานโดยไม่ต้องหล่อหรือก่ออิฐฉาบขึ้นมาใหม่ ทำให้ประหยัดเวลาการก่อสร้างได้พอสมควร และด้วยการผลิตตัวแผ่นคอนกรีตที่ทำขึ้นโดยเครื่องจักรจากโรงงาน ทางผู้รับเหมาจะสามารถควบคุมคุณภาพและรูปแบบที่เหมือนกันทุกแผ่นได้อย่างแม่นยำตามที่ผู้รับเหมาต้องการ
คอนกรีตสำเร็จรูป Precast กำหนดรูปแบบได้ตามความต้องการ
ด้วยวิธีการผลิตของ Precast ที่เป็นการนำคอนกรีตมาหล่อหรือก่อให้เป็นรูปสำเร็จตามแบบหรือมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งสามารถผลิตได้ทุกชิ้นตามประเภทการใช้งาน เช่น คานสำเร็จรูป หรือ คาน Precast, เสาเข็มสำเร็จรูป, รั้วปูนสำเร็จรูป, ฟุตติ้งสำเร็จรูป หรือจะเป็น บ่อพัก (Manhole) ก็สามารถเรียกว่า Precast ได้เช่นกัน โดยวัสดุหลักที่นำมาผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป Precast จะต้องใช้ ดิน, หิน และทราย เป็นหลักเพื่อนำไปผลิตในกระบวนการแปรรูปต่อไป
ข้อดีและข้อเสียของ “คอนกรีตสำเร็จรูป Precast”
- ข้อดีของ “คอนกรีตสำเร็จรูป Precast”
คือความสำเร็จรูปของตัวแผ่นที่สามารถกำหนดมาตรฐานได้การผลิตได้เท่า ๆ กันทุกชิ้น ทำให้ได้งานที่เรียบร้อยกว่าการก่ออิฐฉาบปูนแบบเดิม ๆ มากไปกว่านั้นยังช่วยลดขั้นการทำงานลงได้ทำให้เสร็จจบงานได้รวดเร็ว และนอกจากนั้นวัสดุ Precast มีความแข็งแรงคงทน เพราะถูกออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้างทั้งหลัง
- ข้อเสียของ “คอนกรีตสำเร็จรูป Precast”
จะเกิดขึ้นหลังจากจบงานแล้วซะมากกว่า ด้วยตัวผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดขนาดมาอย่างตายตัวทำให้การรีโนเวทบ้านทำได้ยากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการเจาะกำแพงเพื่อเดินสายไฟ หรือแม้การทุบกำแพงออกก็คงจะเป็นไปได้ยาก เพราะว่าโครงสร้างของแผ่นคอนกรีต Precast ทุกชิ้นทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของตัวบ้านอยู่นั่นเอง
วิธีการขนส่งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป Precast
วิธีการขนส่งผลิตภัณฑ์ Precast ทั้งหมดจะต้องใช้รถเทรลเลอร์ ชนิดพื้นเรียบ หรือ แบบ Low-bed ในการขน เพื่อปกป้องตัวสินค้าให้คงในสภาพที่สมบูรณ์และพร้อมใช้งานมากที่สุด ซึ่งทาง Jira Logistics เองก็ให้บริการในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ครบถ้วนทั้งรถเทรลเลอร์แบบพื้นเรียบ และ Low-bed
เมื่อพูดถึงวัสดุ Precast ที่เป็นการนำคอนกรีตมาหล่อขึ้นรูปสำเร็จตั้งแต่โรงงาน ทำให้เป็นถึงนวัตกรรมของวัสดุก่อสร้างเหล่านี้ที่นับวันก็ยิ่งก้าวหน้ามากขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่สิ่งสำคัญที่ยังคงไว้ไม่เปลี่ยนแปลงคือมาตรฐานของความแข็งแรงคงทน เพราะสิ่งเหล่านี้คือใจความสำคัญของการนำวัตถุดิบก่อสร้างอย่างปูนซีเมนต์, หิน, ดิน, ทราย และเหล็ก มาใช้ก่อโครงสร้างอาคาร บ้านเรือนเพื่อคุณภาพการอยู่อาศัยที่เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งปัจจัยที่ทำให้วัสดุ Precast แตกต่างก็คือการใช้งานที่ง่ายขึ้น และประหยัดเวลามากกว่าเดิม